ทำประกันอัคคีภัยดีไหมและเคลมได้อย่างไร

บ้าน ถือเป็นทรัพย์สินที่หลายคนใฝ่ฝันอยากจะมีเป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นบ้านทาวน์โฮม ทาวน์เฮ้าส์ หรือ คอนโดมิเนียม เมื่อมีบ้านเป็นของตัวเอง สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ และจำเป็นอย่างมาก คงหนีไม่พ้น การเลือกทำประกันอัคคีภัย หรือ ประกันภัยบ้าน เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด  ถึงแม้ยังไม่มีกฎหมายระบุเอาไว้อย่างชัดเจนว่า บ้านทุกหลังต้องทำประกันอัคคีภัย เพื่อความสบายใจ พี่หมีว่าการเลือกทำไว้ก็ไม่เสียหายอะไร

ประกันอัคคีภัยมอบความคุ้มครองทรัพย์สินของผู้เอาประกัน อย่างเช่น อสังหาริมทรัพย์  หรือ สังหาริมทรัพย์ ในกรณีภัยจากไฟไหม้ ฟ้าผ่า เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้รับความเสียหายจากไฟฟ้าลัดวงจร และระเบิดของแก๊สจากของใช้ที่มอบแสงสว่างภายในบ้าน สำหรับกรณีที่ได้รับความคุ้มครองเป็นเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยมาตรฐาน นอกจากนี้คุณยังสามารถเลือกซื้อภัยพิเศษเพิ่มเติมอย่างเช่น ภัยแผ่นดินไหว น้ำท่วม ภัยลมพายุ เป็นต้น

อุบัติเหตุหรือภัยธรรมชาติ สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เมื่อบ้านคุณกำลังประสบปัญหาไฟฟ้า ได้รับความเสียหาย มีความประสงค์ต้องการเคลมประกันอัคคีภัย เพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน แต่ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร ใช้เอกสารอะไรบ้าง วันนี้พี่หมีมีคำตอบมาฝาก

เอกสารประกอบการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน

  • หนังสือเรียกร้องค่าสินไหมของผู้เอาประกันภัย
  • สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เอาประกันภัย
  • ภาพถ่ายความเสียหายทั้งหมด
  • ใบเสนอราคาค่าซ่อมแซมของผู้รับเหมา / ใบเสร็จในการซ่อมแซม หรือ เอกสารอื่นๆที่เป็นประโยชน์ในการประเมินความเสียหาย
  • สำเนาบันทึกประจำวันของเจ้าหน้าที่ตำรวจ (ในกรณีที่ต้องมีการแจ้งความ)
  • หนังสือยอมรับผิดของบุคคลภายนอก (ในกรณีที่เสียหายจากการกระทำบุคคลภายนอก)

เกิดอัคคีภัยควรทำอย่างไร ?

  • กรณีเกิดเหตุอัคคีภัย ควรติดต่อเจ้าหน้าที่ดับเพลิง หรือ เจ้าหน้าที่ตำรวจ
  • แจ้งแผนเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนกับบริษัทประกัน ผ่านทางโทรศัพท์ โทรสาร อีเมล์ แจ้งรายละเอียดความเสียหายที่เกิดขึ้น สถานกาณ์ปัจจุบัน และ สถานที่
  • ถ่ายรูปทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายทั้งหมด เป็นหลักฐานในการประกอบแผนเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
  • หากสามารถเก็บทรัพย์สินที่เสียหายทั้งหมดได้ ควรเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบความเสียหาย
  • เตรียมหลักฐานเอกสารทั้งหมด ในการประกอบแผนเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
  • ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ หรือ ตัวแทนบริษัทประกันภัย ในการตรวจสภาพความเสียหาย